ประยุกต์ใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนขนาดใหญ่


  • Workshop
  • วันที่ 4 กันยายน 2568
  • เวลา 09.00 - 12.00 น. จำนวน 3 ชั่วโมง
  • สถานที่ ห้อง ECON 11-2 ชั้น 11 อาคารบริการ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล
  • รับจำนวน 110 ที่นั่ง
  • คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม 1. เป็นครูหรืออาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
    2. มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน
    3. มีความสนใจในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อพัฒนา
    การจัดการเรียนรู้
    4. พร้อมมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนกับผู้อื่น
    5. ต้องการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนในยุค AI
  • สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องจัดเตรียม

      ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม Notebook และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

  • วิทยากร

      1. อาจารย์ ดร.พิมพ์ชนา ฮกทา คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
      2. รองศาสตราจารย์ ดร. สรพงษ์ เบญจศรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและจัดการนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

  • รายละเอียด
ขอบเขตเนื้อหาและหัวข้อที่จะอบรมออนไลน์
1. ความท้าทายของการสอนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ การลดปัญหาในการควบคุมชั้นเรียน การให้ความช่วยเหลายเฉพาะบุคคล ความแตกต่างของผู้เรียนและภาระของครูในการเตรียม/ประเมินผล
2. แนวคิดพื้นฐานและบทบาทของ AI ในการศึกษา AI กับการจัดการเรียนรู้ (AI in Education) ประเภทของ AI Tools ที่ใช้ได้ในชั้นเรียน บทบาทของ AI ในการช่วยวางแผน บริหาร และสนับสนุนการเรียนรู้
3. แนะนำเครื่องมือ AI ที่เหมาะกับครูวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างการใช้จริงในบทเรียนวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์
4. ฝึกปฏิบัติการใช้งาน AI Tools ในการเตรียมการสอน สร้างใบงาน / แบบฝึกหัด / แบบประเมินผลอัตโนมัติ
5. ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ AI
6. แลกเปลี่ยนแนวคิดและตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) การนำเสนอแนวคิดหรือแผนที่ออกแบบในกิจกรรม workshop การสะท้อนคิด (Reflection)
และการวางแผนการนำไปใช้จริงหลังอบรม
SWU WUNCA Mascot 2
Image 1